The gratification, the drawback, and the escape of the five grasping aggregates.
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, before my awakening—when I was still unawakened but intent on awakening—I thought: ‘What’s the gratification, the drawback, and the escape when it comes to form … feeling … perception … choices … and consciousness?’
Then it occurred to me: ‘The pleasure and happiness that arise from form: this is its gratification. That form is impermanent, suffering, and perishable: this is its drawback. Removing and giving up desire and greed for form: this is its escape. The pleasure and happiness that arise from feeling … perception … choices … consciousness: this is its gratification. That consciousness is impermanent, suffering, and perishable: this is its drawback. Removing and giving up desire and greed for consciousness: this is its escape.’
As long as I didn’t truly understand these five grasping aggregates’ gratification, drawback, and escape in this way for what they are, I didn’t announce my supreme perfect awakening in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.
But when I did truly understand these five grasping aggregates’ gratification, drawback, and escape in this way for what they are, I announced my supreme perfect awakening in this world with its gods, Māras, and Brahmās, this population with its ascetics and brahmins, its gods and humans.
Knowledge and vision arose in me: ‘My freedom is unshakable; this is my last rebirth; now there’ll be no more future lives.’”
English translation by Bhikkhu Bodhi
At Savatthi. “Bhikkhus, before my enlightenment, while I was still a bodhisatta, not yet fully enlightened, it occurred to me: ‘What is the gratification, what is the danger, what is the escape in the case of form? What is the gratification, what is the danger, what is the escape in the case of feeling … perception … volitional formations … consciousness?’
“Then, bhikkhus, it occurred to me: ‘The pleasure and joy that arise in dependence on form: this is the gratification in form. That form is impermanent, suffering, and subject to change: this is the danger in form. The removal and abandonment of desire and lust for form: this is the escape from form.
“‘The pleasure and joy that arise in dependence on feeling … in dependence on perception … in dependence on volitional formations … in dependence on consciousness: this is the gratification in consciousness. That consciousness is impermanent, suffering, and subject to change: this is the danger in consciousness. The removal and abandonment of desire and lust for consciousness: this is the escape from consciousness.’
“So long, bhikkhus, as I did not directly know as they really are the gratification, the danger, and the escape in the case of these five aggregates subject to clinging, I did not claim to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with its devas, Mara, and Brahma, in this generation with its ascetics and brahmins, its devas and humans. But when I directly knew all this as it really is, then I claimed to have awakened to the unsurpassed perfect enlightenment in this world with … its devas and humans.
“The knowledge and vision arose in me: ‘Unshakable is my liberation of mind; this is my last birth; now there is no more renewed existence.’”
เรื่องเกิดขึ้นที่พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรเป็นคุณ (อัสสาทะ) ของรูป อะไรเป็นโทษ (อาทีนวะ) ของรูป อะไรเป็นการออกไป (นิสสรณะ) จากรูป อะไรเป็นคุณของเวทนา อะไรเป็นโทษของเวทนา อะไรเป็นการออกไปจากเวทนา อะไรเป็นคุณของสัญญา อะไรเป็นโทษของสัญญา อะไรเป็นการออกไปจากสัญญา อะไรเป็นคุณของสังขาร อะไรเป็นโทษของสังขาร อะไรเป็นการออกไปจากสังขาร อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษของวิญญาณ อะไรเป็นการออกไปจากวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะ1 การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นการออกไปจากรูป.
สุขโสมนัสอันใด ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของเวทนา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนา การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเวทนาเสียได้ นี้เป็นการออกไปจากเวทนา.
สุขโสมนัสอันใด ที่อาศัยสัญญาแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสัญญา สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสัญญา การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในสัญญาเสียได้ นี้เป็นการออกไปจากสัญญา.
สุขโสมนัสอันใด ที่อาศัยสังขารแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของสังขาร สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของสังขาร การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในสังขารเสียได้ นี้เป็นการออกไปจากสังขาร.
สุขโสมนัสอันใด ที่อาศัยวิญญาณแล้วเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณเสียได้ นี้เป็นการออกไปจากวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ตลอดเวลาเพียงใด ที่เรายังไม่รู้ชัดคุณว่าเป็นคุณ ไม่รู้ชัดโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้ชัดการออกไปว่าเป็นการออกไป ของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ตามความเป็นจริง ตลอดเวลาเพียงนั้น เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดคุณว่าเป็นคุณ รู้ชัดโทษว่าเป็นโทษ รู้ชัดการออกไปว่าเป็นการออกไป ของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่ได้มีอีก ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/34/59.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//34,
https://etipitaka.com/read/pali/17/34
1 ฉันทราคะ = ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ, ความยินดีและพอใจ.