The differences between a stream-enterer and a perfected one. (1)
English translation by Bhikkhu Sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, there are these five grasping aggregates. What five? That is, the grasping aggregates of form, feeling, perception, choices, and consciousness. A noble disciple comes to truly understand these five grasping aggregates’ origin, ending, gratification, drawback, and escape. Such a noble disciple is called a stream-enterer, not liable to be reborn in the underworld, bound for awakening.”
https://suttacentral.net/sn22.109/en/sujato
At Sāvatthī.
“Mendicants, there are these five grasping aggregates. What five? That is, the grasping aggregates of form, feeling, perception, choices, and consciousness. A mendicant comes to be freed by not grasping after truly understanding these five grasping aggregates’ origin, ending, gratification, drawback, and escape. Such a mendicant is called a perfected one, with defilements ended, who has completed the spiritual journey, done what had to be done, laid down the burden, achieved their own true goal, utterly ended the fetters of rebirth, and is rightly freed through enlightenment.”
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์1 ๕ เหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑) อุปาทานขันธ์ คือ รูป
๒) อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
๓) อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
๔) อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
๕) อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดแจ้งตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) คุณ (อัสสาทะ) โทษ (อาทีนวะ) และการสลัดออก (นิสสรณะ) แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน ผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้มีอันจะได้ตรัสรู้ในกาลเบื้องหน้า.
ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑) อุปาทานขันธ์ คือ รูป
๒) อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
๓) อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
๔) อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
๕) อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดแจ้งตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ คุณ โทษ และการสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ดังนี้ แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ทำกิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้.
-บาลี ขนฺธ. สํ. 17/196/296, 297.
https://84000.org/tipitaka/pali/?17//196
, https://etipitaka.com/read/pali/17/196
(ใน -บาลี ขนฺธ สํ. 17/236/373, 374 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระราธะ โดยมีนัยเดียวกัน)
1 ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน หรือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น.