Mindfulness of breathing can extinguish unskillful qualities.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Vesālī, at the Great Wood, in the hall with the peaked roof. Now at that time the Buddha spoke in many ways to the mendicants about the meditation on ugliness. He praised the meditation on ugliness and its development.
Then the Buddha said to the mendicants, “Mendicants, I wish to go on retreat for a fortnight. No-one should approach me, except for the one who brings my alms-food.”
“Yes, sir,” replied those mendicants. And no-one approached him, except for the one who brought the alms-food.
Then those mendicants thought, “The Buddha spoke in many ways about the meditation on ugliness. He praised the meditation on ugliness and its development.” They committed themselves to developing the many different facets of the meditation on ugliness. Becoming horrified, repelled, and disgusted with this body, they looked for someone to slit their wrists. Each day ten, twenty, or thirty mendicants slit their wrists.
Then after a fortnight had passed, the Buddha came out of retreat and addressed Ānanda, “Ānanda, why does the mendicant Saṅgha seem so diminished?”
Ānanda told the Buddha all that had happened, and said, “Sir, please explain another way for the mendicant Saṅgha to get enlightened.”
“Well then, Ānanda, gather all the mendicants staying in the vicinity of Vesālī together in the assembly hall.”
“Yes, sir,” replied Ānanda. He did what the Buddha asked, went up to him, and said, “Sir, the mendicant Saṅgha has assembled. Please, sir, come at your convenience.”
Then the Buddha went to the assembly hall, sat down on the seat spread out, and addressed the mendicants:
“Mendicants, when this immersion due to mindfulness of breathing is developed and cultivated it’s peaceful and sublime, a deliciously pleasant meditation. And it disperses and settles unskillful qualities on the spot whenever they arise.
In the last month of summer, when the dust and dirt is stirred up, a large sudden storm disperses and settles it on the spot.
In the same way, when this immersion due to mindfulness of breathing is developed and cultivated it’s peaceful and sublime, a deliciously pleasant meditation. And it disperses and settles unskillful qualities on the spot whenever they arise. And how is it so developed and cultivated?
It’s when a mendicant—gone to a wilderness, or to the root of a tree, or to an empty hut—sits down cross-legged, with their body straight, and focuses their mindfulness right there.
Just mindful, they breathe in. Mindful, they breathe out.
When breathing in heavily they know: ‘I’m breathing in heavily.’ When breathing out heavily they know: ‘I’m breathing out heavily.’ When breathing in lightly they know: ‘I’m breathing in lightly.’ When breathing out lightly they know: ‘I’m breathing out lightly.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing the whole body.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing the whole body.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in stilling physical processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out stilling physical processes.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing rapture.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing rapture.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing bliss.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing bliss.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in stilling mental processes.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out stilling mental processes.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in experiencing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out experiencing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in gladdening the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out gladdening the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in immersing the mind in samādhi.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out immersing the mind in samādhi.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in freeing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out freeing the mind.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing impermanence.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing impermanence.’
They practice like this: ‘I’ll breathe in observing fading away.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing fading away.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing cessation.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing cessation.’ They practice like this: ‘I’ll breathe in observing letting go.’ They practice like this: ‘I’ll breathe out observing letting go.’
That’s how this immersion due to mindfulness of breathing is developed and cultivated so that it’s peaceful and sublime, a deliciously pleasant meditation. And it disperses and settles unskillful qualities on the spot whenever they arise.”
(ทรงปรารภเหตุที่ ภิกษุทั้งหลายได้ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เนื่องจากเกิดความอึดอัดระอา เกลียดกายของตน เพราะการปฏิบัติอสุภภาวนา จึงได้ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิแก่ภิกษุเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของระงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้ระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้นแห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน ฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมา ย่อมทำฝุ่นธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ก็เป็นของระงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ที่เป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ.
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับ หายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.
ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า ย่อมทำการศึกษาว่า เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก.
ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นของระงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้ โดยควรแก่ฐานะ ดังนี้.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/406/1352.
-บาลี มหา. วิ. 1/128/176.https://84000.org/tipitaka/pali/?19//406
https://84000.org/tipitaka/pali/?1//128
https://etipitaka.com/read/pali/19/406/
https://etipitaka.com/read/pali/1/128/