Take one’s own life, but do not condemn.
English translation by Bhikkhu Sujato
So I have heard. At one time the Buddha was staying near Rājagaha, in the Bamboo Grove, the squirrels’ feeding ground.
Now at that time the venerables Sāriputta, Mahācunda, and Channa were staying on the Vulture’s Peak Mountain.
Now at that time Venerable Channa was sick, suffering, gravely ill.
Then in the late afternoon, Venerable Sāriputta came out of retreat, went to Venerable Mahācunda and said to him, “Come, Reverend Cunda, let’s go to see Venerable Channa and ask about his illness.”
“Yes, reverend,” replied Mahācunda.
And then Sāriputta and Mahācunda went to see Channa and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, they sat down to one side. Then Sāriputta said to Channa, “I hope you’re keeping well, Reverend Channa; I hope you’re alright. I hope that your pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“Reverend Sāriputta, I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading. The winds piercing my head are so severe, it feels like a strong man drilling into my head with a sharp point. The pain in my head is so severe, it feels like a strong man tightening a tough leather strap around my head. The winds piercing my belly are so severe, it feels like a deft butcher or their apprentice is slicing my belly open with a meat cleaver. The burning in my body is so severe, it feels like two strong men grabbing a weaker man by the arms to burn and scorch him on a pit of glowing coals. I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading. Reverend Sāriputta, I will slit my wrists. I don’t wish to live.”
“Please don’t slit your wrists! Venerable Channa, keep going! We want you to keep going. If you don’t have any suitable food, we’ll find it for you. If you don’t have suitable medicine, we’ll find it for you. If you don’t have a capable carer, we’ll find one for you. Please don’t slit your wrists! Venerable Channa, keep going! We want you to keep going.”
“Reverend Sāriputta, it’s not that I don’t have suitable food, or suitable medicine, or a capable carer. Moreover, for a long time now I have served the Teacher with love, not without love. For it is proper for a disciple to serve the Teacher with love, not without love. You should remember this: ‘The mendicant Channa slit his wrists blamelessly.’”
“I’d like to ask you about a certain point, if you’d take the time to answer.”
“Ask, Reverend Sāriputta. When I’ve heard it I’ll know.”
“Reverend Channa, do you regard the eye, eye consciousness, and things knowable by eye consciousness in this way: ‘This is mine, I am this, this is my self’? Do you regard the ear … nose … tongue … body … mind, mind consciousness, and things knowable by mind consciousness in this way: ‘This is mine, I am this, this is my self’?”
“Reverend Sāriputta, I regard the eye, eye consciousness, and things knowable by eye consciousness in this way: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self.’ I regard the ear … nose … tongue … body … mind, mind consciousness, and things knowable by mind consciousness in this way: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self’.”
“Reverend Channa, what have you seen, what have you directly known in these things that you regard them in this way: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self’?”
“Reverend Sāriputta, after seeing cessation, after directly knowing cessation in these things I regard them in this way: ‘This is not mine, I am not this, this is not my self’.”
When he said this, Venerable Mahācunda said to Venerable Channa:
“So, Reverend Channa, you should pay close attention to this instruction of the Buddha whenever you can: ‘For the dependent there is agitation. For the independent there’s no agitation. When there’s no agitation there is tranquility. When there is tranquility there’s no inclination. When there’s no inclination there’s no coming and going. When there’s no coming and going there’s no passing away and reappearing. When there’s no passing away and reappearing there’s no this world or world beyond or between the two. Just this is the end of suffering.’” And when the venerables Sāriputta and Mahācunda had given Venerable Channa this advice they got up from their seat and left.
Not long after those venerables had left, Venerable Channa slit his wrists.
Then Sāriputta went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him, “Sir, Venerable Channa has slit his wrists. Where has he been reborn in his next life?”
“Sāriputta, didn’t the mendicant Channa declare his blamelessness to you personally?”
“Sir, there is a Vajjian village named Pubbavijjhana where Channa had families with whom he was friendly, intimate, and familiar.”
“The mendicant Channa did indeed have such families. But this is not enough for me to call someone ‘blameworthy’. When someone lays down this body and takes up another body, I call them ‘blameworthy’. But the mendicant Channa did no such thing. You should remember this: ‘The mendicant Channa slit his wrists blamelessly.’”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะและท่านพระฉันนะอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะ ดังนี้ว่า ท่านจุนทะ มาเถิด เราจะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ไต่ถามถึงความป่วยไข้ของท่าน พระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว จากนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้วทักทายปราศรัยกับท่านพระฉันนะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระฉันนะ ดังนี้ว่า.
ท่านฉันนะ ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของกระผม เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างมั่น ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของกระผม เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคมคว้านท้อง ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนักกำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลังมาก ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยที่อวัยวะป้องกันตัวต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ดังนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักหาศาตรามาฆ่าตัวตาย ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่เลย.
ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวตายเลย จงมีชีวิตอยู่ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะมีชีวิตอยู่ ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีคนบำรุงที่สมควร ผมจักคอยบำรุงท่านเอง ท่านฉันนะอย่าได้หาศาตรามาฆ่าตัวตายเลย จงมีชีวิตอยู่ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะมีชีวิตอยู่.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่ว่ากระผมไม่มีโภชนะเป็นที่สบาย ไม่ใช่ว่ากระผมไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ว่ากระผมไม่มีคนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผมได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย ความจริงการที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย นั่นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันนภิกษุจักหาศาตรามาฆ่าตัวตาย อย่างมิให้ถูกตำหนิได้.
พวกเราจักขอถามปัญหาท่านฉันนะสักเล็กน้อย ถ้าท่านฉันนะเปิดโอกาสถามปัญหาได้.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โปรดถามเถิด กระผมฟังแล้วจึงจักรู้.
ท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นตา จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเราหรือ.
ท่านพิจารณาเห็นหู โสตวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ … .
ท่านพิจารณาเห็นจมูก ฆานวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยฆานวิญญาณ … .
ท่านพิจารณาเห็นลิ้น ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณ … .
ท่านพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยกายวิญญาณ … .
ท่านพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นนอัตตาของเราหรือ.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นตา จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
กระผมพิจารณาเห็นหู โสตวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยโสตวิญญาณ … .
กระผมพิจารณาเห็นจมูก ฆานวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยฆานวิญญาณ … .
กระผมพิจารณาเห็นลิ้น ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณ … .
กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยกายวิญญาณ … .
กระผมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ท่านฉันนะ ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในตา ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นตา จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในหู ในโสตวิญญาณ … .
ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในจมูก ในฆานวิญญาณ … .
ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในลิ้น ในชิวหาวิญญาณ … .
ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ … .
ท่านเห็นอยู่อย่างไร รู้อยู่อย่างไร ในใจ ในมโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในตา ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นตา จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในหู ในโสตวิญญาณ … .
กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในจมูก ในฆานวิญญาณ … .
กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในลิ้น ในชิวหาวิญญาณ … .
กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในกาย ในกายวิญญาณ … .
กระผมเห็นความดับ รู้ชัดซึ่งความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวกะท่านพระฉันนะ ดังนี้ว่า ท่านฉันนะ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้ว่า บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ท่านก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั้นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.
ครั้งนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะได้หาศาตรามาฆ่าตัวตายเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ภันเต ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัวตายเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีอภิสัมปรายะอย่างไร.
สารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ความเป็นผู้ไม่ควรถูกตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ.
ภันเต มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลอื่นที่คอยตำหนิอยู่.
สารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลอื่นที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราไม่กล่าวว่า บุคคลควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.
สารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้แล้วยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวตายอย่างไม่ควรถูกตำหนิ.
-บาลี อุปริ. ม. 14/474/741.
https://84000.org/tipitaka/pali/?14/474
https://etipitaka.com/read/pali/14/474/
พระสูตรนี้ เนื้อหาซ้ำกับฉันนสูตร ในเล่ม 18