The teaching before death for the lay follower.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Rājagaha, in the Bamboo Grove, the squirrels’ feeding ground.
Now at that time the lay follower Dhīgāvu was sick, suffering, gravely ill. Then he addressed his father, the householder Jotika, “Please, householder, go to the Buddha, and in my name bow with your head to his feet. Say to him: ‘Sir, the lay follower Dhīgāvu is sick, suffering, gravely ill. He bows with his head to your feet.’ And then say: ‘Sir, please visit him at his home out of compassion.’”
“Yes, dear,” replied Jotika. He did as Dīghāvu asked. The Buddha consented in silence.
Then the Buddha robed up in the morning and, taking his bowl and robe, went to the home of the lay follower Dīghāvu, sat down on the seat spread out, and said to him, “I hope you’re keeping well, Dīghāvu; I hope you’re alright. I hope that your pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“Sir, I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading.”
“So, Dīghāvu, you should train like this: ‘I will have experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha … And I will have the ethical conduct loved by the noble ones … leading to immersion.’ That’s how you should train.”
“Sir, these four factors of stream-entry that were taught by the Buddha are found in me, and I am seen in them. For I have experiential confidence in the Buddha … the teaching … the Saṅgha … And I have the ethical conduct loved by the noble ones … leading to immersion.”
“In that case, Dīghāvu, grounded on these four factors of stream-entry you should further develop these six things that play a part in realization. You should meditate observing the impermanence of all conditions, perceiving suffering in impermanence, perceiving not-self in suffering, perceiving giving up, perceiving fading away, and perceiving cessation. That’s how you should train.”
“These six things that play a part in realization that were taught by the Buddha are found in me, and I embody them. For I meditate observing the impermanence of all conditions, perceiving suffering in impermanence, perceiving not-self in suffering, perceiving giving up, perceiving fading away, and perceiving cessation.
But still, sir, I think, ‘I hope Jotika doesn’t suffer anguish when I’ve gone.’” Jotika said, “Dear Dīghāvu, don’t focus on that. Come on, dear Dīghāvu, you should closely focus on what the Buddha is saying.”
When the Buddha had given this advice he got up from his seat and left. Not long after the Buddha left, Dīghāvu passed away. Then several mendicants went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
“Sir, the lay follower named Dīghāvu, who was advised in brief by the Buddha, has passed away. Where has he been reborn in his next life?”
“Mendicants, the lay follower Dīghāvu was astute. He practiced in line with the teachings, and did not trouble me about the teachings. With the ending of the five lower fetters, he’s been reborn spontaneously, and will become extinguished there, not liable to return from that world.”
“These six things play a part in realization. What six? The perception of impermanence, the perception of suffering in impermanence, the perception of not-self in suffering, the perception of giving up, the perception of fading away, and the perception of cessation. These are the six things that play a part in realization.”
https://suttacentral.net/an6.35/en/sujato
English translation by Bhikkhu Ṭhānissaro
“These two qualities have a share in clear knowing. Which two? Tranquility [samatha] & insight [vipassanā].
“When tranquility is developed, what purpose does it serve? The mind is developed. And when the mind is developed, what purpose does it serve? Passion is abandoned.
“When insight is developed, what purpose does it serve? Discernment is developed. And when discernment is developed, what purpose does it serve? Ignorance is abandoned.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปนสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ได้เชิญคหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่คหบดี ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลตามคำของผมว่า ภันเต ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และให้ทูลอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาค โปรดอาศัยความกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสกเถิด.
โชติยคหบดีรับคำฑีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร.
ครั้นแล้ว โชติยคหบดีได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ฑีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า และเขาได้ฝากทูลมาอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอพระผู้มีพระภาค โปรดอาศัยความกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสกเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของฑีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วได้ตรัสถามฑีฆาวุอุบาสกว่า ฑีฆาวุ เธอพอจะอดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.
ฑีฆาวุอุบาสกทูลว่า ภันเต ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของพระองค์กำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.
ฑีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้.
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นั่นคือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ คือ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท (จากตัณหา) เป็นศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ดังนี้.
ฑีฆาวุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ภันเต องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา (โสตาปัตติยังคะ) ๔ ประการเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ภันเต ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า …
ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม …
ข้าพระองค์ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ …
ข้าพระองค์เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะรักใคร่แล้ว …
ทีฆาวุ เพราเหตุนั้นแล เมื่อเธอตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ทีฆาวุ ในกรณี เธอจงพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง (สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี) มีความหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ (อนิจฺเจ ทุกฺขสฺี) มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา (ทุกฺเข อนตฺตสฺี) มีความหมายรู้ในการละ (ปหานสฺี) มีความหมายรู้ในความคลายกำหนัด (วิราคสฺี) มีความหมายรู้ในความดับ (นิโรธสฺี) ฑีฆาวุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ภันเต ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ๖ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง มีควาหมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความหมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความหมายรู้ในการละ มีความหมายรู้ในความคลายกำหนัด มีความหมายรู้ในความดับ.
ภันเต อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า โชติยคหบดีนี้ อย่าได้ถึงซึ่งความทุกข์หลังจากข้าพระองค์ล่วงลับไปแล้วเลย.
โชติยคหบดีได้กล่าวว่า ทีฆาวุ ท่านอย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย ทีฆาวุ ท่านจงใส่ใจคำสอนที่พระผู้มีพระภาคแสดงแก่ท่านให้ดีเถิด.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วยโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกก็กระทำกาละ.
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ภันเต ทีฆาวุอุบาสกที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยโอวาทโดยย่อ กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายะของเขาเป็นอย่างไร.
ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต เป็นผู้กล่าวคำสัจจ์ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ทำตนเองให้ลำบากเพราะมีธรรมเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/430/1416.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//430
https://etipitaka.com/read/pali/19/430/
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๖ ประการอะไรบ้าง คือ
อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา
ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/373/306.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22/373
https://etipitaka.com/read/pali/22/373/
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ ประการอะไรบ้าง คือ สมถะและวิปัสสนา.
ภิกษุทั้งหลาย สมถะที่เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร (สมถะที่เจริญแล้ว) จิตย่อมเจริญ จิตที่เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร (จิตที่เจริญแล้ว) ย่อมละราคะได้.
ภิกษุทั้งหลาย วิปัสสนาที่เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร (วิปัสสนาที่เจริญแล้ว) ปัญญาย่อมเจริญ ปัญญาที่เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร (ปัญญาที่เจริญแล้ว) ย่อมละอวิชชาได้.
ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยอาการอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.
-บาลี ทุก. อํ. 20/77/275.
https://84000.org/tipitaka/pali/?20/77
https://etipitaka.com/read/pali/20/275/