โสตThe four factors of stream-entry in ten respects.าปัตติยังคะ ๔ จำแนกด้วยอาการ ๑๐
English translation by Bhikkhu Sujato
Now at that time the householder Anāthapiṇḍika was sick, suffering, gravely ill. Then he addressed a man, “Please, mister, go to Venerable Sāriputta, and in my name bow with your head to his feet. Say to him: ‘Sir, the householder Anāthapiṇḍika is sick, suffering, gravely ill. He bows with his head to your feet.’ And then say: ‘Sir, please visit him at his home out of compassion.’”
“Yes, sir,” that man replied. He did as Anāthapiṇḍika asked. Sāriputta consented in silence.
Then Venerable Sāriputta robed up in the morning and, taking his bowl and robe, went with Venerable Ānanda as his second monk to Anāthapiṇḍika’s home. He sat down on the seat spread out, and said to Anāthapiṇḍika, “I hope you’re keeping well, householder; I hope you’re alright. And I hope the pain is fading, not growing, that its fading is evident, not its growing.”
“Sir, I’m not keeping well, I’m not alright. The pain is terrible and growing, not fading; its growing is evident, not its fading.”
“Householder, you don’t have the distrust in the Buddha that causes an uneducated ordinary person to be reborn—when their body breaks up, after death—in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. And you have experiential confidence in the Buddha: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’ Seeing in yourself that experiential confidence in the teaching, that pain may die down on the spot.
You don’t have the distrust in the teaching that causes an uneducated ordinary person to be reborn—when their body breaks up, after death—in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. And you have experiential confidence in the teaching: ‘The teaching is well explained by the Buddha—visible in this very life, immediately effective, inviting inspection, relevant, so that sensible people can know it for themselves.’ Seeing in yourself that experiential confidence in the teaching, that pain may die down on the spot.
You don’t have the distrust in the Saṅgha that causes an uneducated ordinary person to be reborn—when their body breaks up, after death—in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. And you have experiential confidence in the Saṅgha: ‘The Saṅgha of the Buddha’s disciples is practicing the way that’s good, direct, methodical, and proper. It consists of the four pairs, the eight individuals. This Saṅgha of the Buddha’s disciples is worthy of offerings dedicated to the gods, worthy of hospitality, worthy of a religious donation, and worthy of veneration with joined palms. It is the supreme field of merit for the world.’ Seeing in yourself that experiential confidence in the Saṅgha, that pain may die down on the spot.
You don’t have the unethical conduct that causes an uneducated ordinary person to be reborn—when their body breaks up, after death—in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. Your ethical conduct is loved by the noble ones, unbroken, impeccable, spotless, and unmarred, liberating, praised by sensible people, not mistaken, and leading to immersion. Seeing in yourself that ethical conduct loved by the noble ones, that pain may die down on the spot.
You don’t have the wrong view that causes an uneducated ordinary person to be reborn—when their body breaks up, after death—in a place of loss, a bad place, the underworld, hell. You have right view. Seeing in yourself that right view, that pain may die down on the spot.
You don’t have the wrong thought …
wrong speech …
wrong action …
wrong livelihood …
wrong effort …
wrong mindfulness …
wrong immersion …
wrong knowledge …
wrong freedom … You have right freedom. Seeing in yourself that right freedom, that pain may die down on the spot.”
And then Anāthapiṇḍika’s pain died down on the spot. Then he served Sāriputta and Ānanda from his own dish. When Sāriputta had eaten and washed his hand and bowl, Anāthapiṇḍika took a low seat and sat to one side. Venerable Sāriputta expressed his appreciation to him with these verses.
“Whoever has faith in the Realized One,unwavering and well grounded;whose ethical conduct is good,praised and loved by the noble ones;
who has confidence in the Saṅgha,and correct view:they’re said to be prosperous,their life is not in vain.
So let the wise devote themselvesto faith, ethical behaviour,confidence, and insight into the teaching,remembering the instructions of the Buddhas.”
After expressing his appreciation to Anāthapiṇḍika with these verses, Sāriputta got up from his seat and left.
Then Ānanda went up to the Buddha, bowed, and sat down to one side. The Buddha said to him, “So, Ānanda, where are you coming from in the middle of the day?”
“Sir, Venerable Sāriputta advised the householder Anāthapiṇḍika in this way and that.”
“Sāriputta is astute, Ānanda. He has great wisdom, since he can analyze the four factors of stream-entry in ten respects.”
ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเถิด
บุรุษนั้นรับคำของอนาถบิณฑิกคหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ภันเต อนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า สาธุ ภันเต ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.
ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามอนาถบิณฑิกคหบดีว่า คหบดี เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ
ภันเต กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น … เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว … อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว … เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว เป็นศีลที่ไม่ขาด … เป็นไปเพื่อสมาธิก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเห็นปานใด ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.
ครั้งนั้น เวทนาของอนาถบิณฑิกคหบดีสงบระงับแล้วโดยพลัน อนาถบิณฑิกคหบดีอังคาส ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์ ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้
ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ในพระตถาคต มีศีลอันงามที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า
อานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ๆ.
อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมีปัญญามาก ได้จำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.
-บาลี มหาวาร. สํ. 19/479/1549.
https://84000.org/tipitaka/pali/?19//479
https://etipitaka.com/read/pali/19/479/