What led to the decline of the true teaching and what led to the enduring of the true teaching. (3)
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, these five things lead to the decline and disappearance of the true teaching. What five?
It’s when the mendicants memorize discourses that they learned incorrectly, with misplaced words and phrases. When the words and phrases are misplaced, the meaning is misinterpreted. This is the first thing that leads to the decline and disappearance of the true teaching.
Furthermore, the mendicants are hard to admonish, having qualities that make them hard to admonish. They’re impatient, and don’t take instruction respectfully. This is the second thing …
Furthermore, the mendicants who are very learned—knowledgeable in the scriptures, who have memorized the teachings, the monastic law, and the outlines—don’t carefully make others recite the discourses. When they pass away, the discourses are cut off at the root, with no-one to preserve them. This is the third thing …
Furthermore, the senior mendicants are indulgent and slack, leaders in backsliding, neglecting seclusion, not rousing energy for attaining the unattained, achieving the unachieved, and realizing the unrealized. Those who come after them follow their example. They too are indulgent and slack … This is the fourth thing …
Furthermore, there’s a schism in the Saṅgha. When the Saṅgha is split, they abuse, insult, block, and reject each other. This doesn’t inspire confidence in those without it, and it causes some with confidence to change their minds. This is the fifth thing that leads to the decline and disappearance of the true teaching.
These five things lead to the decline and disappearance of the true teaching.
These five things lead to the continuation, persistence, and enduring of the true teaching. What five? It’s when the mendicants memorize discourses that have been learned correctly, with well placed words and phrases. When the words and phrases are well organized, the meaning is correctly interpreted. This is the first thing that leads to the continuation, persistence, and enduring of the true teaching.
Furthermore, the mendicants are easy to admonish, having qualities that make them easy to admonish. They’re patient, and take instruction respectfully. This is the second thing …
Furthermore, the mendicants who are very learned—knowledgeable in the scriptures, who have memorized the teachings, the monastic law, and the outlines—carefully make others recite the discourses. When they pass away, the discourses aren’t cut off at the root, and they have someone to preserve them. This is the third thing …
Furthermore, the senior mendicants are not indulgent and slack, leaders in backsliding, neglecting seclusion. They rouse energy for attaining the unattained, achieving the unachieved, and realizing the unrealized. Those who come after them follow their example. They too are not indulgent or slack … This is the fourth thing …
Furthermore, the Saṅgha lives comfortably, in harmony, appreciating each other, without quarreling, with one recitation. When the Saṅgha is in harmony, they don’t abuse, insult, block, or reject each other. This inspires confidence in those without it, and increases confidence in those who have it. This is the fifth thing that leads to the continuation, persistence, and enduring of the true teaching.
These five things lead to the continuation, persistence, and enduring of the true teaching.”
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้
๑) ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำกันมาผิด ด้วยบทและพยัญชนะที่ทรงจำกันผิด เนื้อความแห่งบทและพยัญชนะที่ทรงจำกันมาผิด ย่อมมีความหมายผิดไปด้วย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๒) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับฟังคำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๓) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่ใส่ใจบอกเนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายย่อมขาดผู้เป็นมูลราก ไม่มีหลักให้พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๔) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางทราม ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ผู้บวชมาในภายหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นแบบอย่าง จึงทำให้เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางทราม ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๕) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน มีการบริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกันและกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนที่ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสอยู่แล้ว ย่อมเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลายในกรณีนี้
๑) ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำกันมาถูก ด้วยบทและพยัญชนะที่ทรงจำกันมาถูก เนื้อความแห่งบทและพยัญชนะที่ทรงจำกันมาถูก ย่อมมีความหมายถูกต้องไปด้วย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๒) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน ยอมรับฟังคำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๓) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ใส่ใจบอกเนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายย่อมไม่ขาดผู้เป็นมูลราก มีหลักให้พึ่งอาศัย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
๔) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในทางทราม เป็นผู้นำในปวิเวก เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ผู้บวชมาในภายหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นแบบอย่าง จึงทำให้ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ไม่เป็นผู้นำในทางทราม เป็นผู้นำในปวิเวก เป็นผู้ปรารถความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
๕) ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน มีความยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่เป็นผาสุก ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์สมัครสมานกัน ย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่มีการบริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนที่ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมเลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ลบเลือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/199/156.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//199
https://etipitaka.com/read/pali/22/199/