The Dhamma that leads to welfare and happiness in this life and in future lives.
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying in the land of the Koliyans, where they have a town named Kakkarapatta. Then Dīghajāṇu the Koliyan went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to the Buddha:
“Sir, we are laypeople who enjoy sensual pleasures and living at home with our children. We use sandalwood imported from Kāsi, we wear garlands, perfumes, and makeup, and we accept gold and money. May the Buddha please teach us the Dhamma in a way that leads to our welfare and happiness in this life and in future lives.”…
Then Ujjaya the brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“Master Gotama, we wish to travel abroad. May the Buddha please teach us the Dhamma in a way that leads to our welfare and happiness in this life and in future lives.”
“Brahmin, these four things lead to the welfare and happiness of a gentleman in this life. What four? Accomplishment in initiative, protection, good friendship, and balanced finances.
And what is accomplishment in initiative? A gentleman may earn a living by means such as farming, trade, raising cattle, archery, government service, or one of the professions. He understands how to go about these things in order to complete and organize the work. This is called accomplishment in initiative.
And what is accomplishment in protection? It’s when a gentleman owns legitimate wealth that he has earned by his own efforts and initiative, built up with his own hands, gathered by the sweat of the brow. He ensures it is guarded and protected, thinking: ‘How can I prevent my wealth from being taken by rulers or bandits, consumed by fire, swept away by flood, or taken by unloved heirs?’ This is called accomplishment in protection.
And what is accomplishment in good friendship? It’s when a gentleman resides in a town or village. And in that place there are householders or their children who may be young or old, but are mature in conduct, accomplished in faith, ethics, generosity, and wisdom. He associates with them, converses and engages in discussion. And he emulates the same kind of accomplishment in faith, ethics, generosity, and wisdom. This is called accomplishment in good friendship.
And what is accomplishment in balanced finances? It’s when a gentleman, knowing his income and expenditure, balances his finances, being neither too extravagant nor too frugal. He thinks, ‘In this way my income will exceed my expenditure, not the reverse.’ It’s like an appraiser or their apprentice who, holding up the scales, knows that it’s low by this much or high by this much. In the same way, a gentleman, knowing his income and expenditure, balances his finances, being neither too extravagant nor too frugal. He thinks, ‘In this way my income will exceed my expenditure, not the reverse.’ If a gentleman has little income but an opulent life, people will say: ‘This gentleman eats their wealth like a fig-eater!’ If a gentleman has a large income but a spartan life, people will say: ‘This gentleman is starving themselves to death!’ But a gentleman, knowing his income and expenditure, leads a balanced life, neither too extravagant nor too frugal, thinking, ‘In this way my income will exceed my expenditure, not the reverse.’ This is called accomplishment in balanced finances.
There are four drains on wealth that has been gathered in this way. Womanizing, drinking, gambling, and having bad friends, companions, and associates. Suppose there was a large reservoir with four inlets and four drains. And someone was to open up the drains and close off the inlets, and the heavens don’t provide enough rain. You’d expect that large reservoir to dwindle, not expand. In the same way, there are four drains on wealth that has been gathered in this way. Womanizing, drinking, gambling, and having bad friends, companions, and associates.
There are four inlets for wealth that has been gathered in this way. Not womanizing, drinking, or gambling, and having good friends, companions, and associates. Suppose there was a large reservoir with four inlets and four drains. And someone was to open up the inlets and close off the drains, and the heavens provide plenty of rain. You’d expect that large reservoir to expand, not dwindle. In the same way, there are four inlets for wealth that has been gathered in this way. Not womanizing, drinking, or gambling, and having good friends, companions, and associates.
These are the four things that lead to the welfare and happiness of a gentleman in this life.
These four things lead to the welfare and happiness of a gentleman in future lives. What four? Accomplishment in faith, ethics, generosity, and wisdom.
And what is accomplishment in faith? It’s when a gentleman has faith in the Realized One’s awakening: ‘That Blessed One is perfected, a fully awakened Buddha, accomplished in knowledge and conduct, holy, knower of the world, supreme guide for those who wish to train, teacher of gods and humans, awakened, blessed.’ This is called accomplishment in faith.
And what is accomplishment in ethics? It’s when a gentleman doesn’t kill living creatures, steal, commit sexual misconduct, lie, or consume alcoholic drinks that cause negligence. This is called accomplishment in ethics.
And what is accomplishment in generosity? It’s when a gentleman lives at home rid of the stain of stinginess, freely generous, open-handed, loving to let go, committed to charity, loving to give and to share. This is called accomplishment in generosity.
And what is accomplishment in wisdom? It’s when a gentleman is wise. He has the wisdom of arising and passing away which is noble, penetrative, and leads to the complete ending of suffering. This is called accomplishment in wisdom.
These are the four things that lead to the welfare and happiness of a gentleman in future lives.
They’re enterprising in the workplace,diligent in managing things,they balance their finances,and preserve their wealth.
Faithful, accomplished in ethics,bountiful, rid of stinginess,they always purify the pathto well-being in lives to come.
And so these eight qualitiesof a faithful householderare declared by the one who is truly namedto lead to happiness in both spheres,
welfare and benefit in this life,and happiness in the next.This is how, for a householder,merit grows by generosity.”
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกฬิยะชื่อ กักกรปัตตะ เขตเมืองโกฬิยะ ครั้งนั้น โกฬิยบุตรชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรสมควร ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ภันเต ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม ยังอยู่ครองเรือน ยังนอนเบียดบุตร ยังใช้จันทน์จากแคว้นกาสี ยังทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่ สาธุ
ภันเต ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่เหมาะสมแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งในปัจจุบัน และในภายหน้าเถิด … .
ครั้งนั้น อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ปรารถนาจะไปอยู่ต่างถิ่น ขอท่านพระโคดม โปรดแสดงธรรมที่เหมาะสมแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งในปัจจุบัน และในภายหน้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความขยัน)
๒) อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษา)
๓) กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี)
๔) สมชีวิตา (การใช้ชีวิตให้เหมาะสม)
พราหมณ์ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ เลี้ยงชีพด้วยการประกอบการงานใด คือ กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ หรือประกอบอาชีพด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้นๆ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในการงานนั้นๆ สามารถทำเองก็ได้ หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำก็ได้ พราหมณ์ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา.
พราหมณ์ ก็อารักขสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ มีโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษา คุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้เต็มที่ ด้วยคิดว่า ทำอย่างไรหนอ พระราชาจะไม่ริบทรัพย์ของเรา โจรจะไม่ขโมยไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดพาไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่แย่งเอาไป พราหมณ์ นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา.
พราหมณ์ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด บุคคลเหล่าใดในหมู่บ้านหรือในนิคมนั้น จะเป็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีก็ตาม จะเป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ก็ตาม ที่เป็นบุคคลผู้มีความประพฤติดีงาม เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ผู้ถึงพร้อมปัญญา กุลบุตรนั้นย่อมดำรงตนร่วม ย่อมพูดจาร่วมกับบุคคลเหล่านั้น คอยศึกษาสัทธาสัมปทากับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธาตามสมควร คอยศึกษาสีลสัมปทากับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศีลตามสมควร คอยศึกษาจาคสัมปทากับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยจาคะตามสมควร คอยศึกษาปัญญาสัมปทากับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญาตามสมควร พราหมณ์ นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.
พราหมณ์ ก็สมชีวิตาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วใช้ชีวิตให้เหมาะสม ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายรับของเราจักต้องท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้ พราหมณ์ เปรียบเหมือนคนถือตราชั่ง หรือลูกน้องเขา ยกตราชั่งขึ้นมาแล้วย่อมทราบว่า ต้องเอาออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น กุลบุตรนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วใช้ชีวิตให้เหมาะสม ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายรับของเราจักต้องท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่ท่วมรายรับ พราหมณ์ ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้น้อย แต่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย ก็จะมีผู้ตำหนิเขาว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้สอยโภคทรัพย์เหมือนคนกินผลมะเดื่อ ก็ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้มาก แต่ใช้ชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้ตำหนิเขาว่า กุลบุตรผู้นี้จักตายอดตายอยากเหมือนอย่างคนอนาถา พราหมณ์ แต่กุลบุตรนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วใช้ชีวิตให้เหมาะสม ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายรับของเราจักต้องท่วมรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้ พราหมณ์ นี้เรียกว่าสมชีวิตา.
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ การเป็นนักเลงหญิง การเป็นนักเลงสุรา การเป็นนักเลงการพนัน การมีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว พราหมณ์ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางน้ำไหลเข้า ๔ ทาง มีทางน้ำไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางน้ำไหลเข้า และเปิดทางน้ำไหลออกของสระน้ำนั้น อีกทั้งฝนก็ไม่ได้ตกต้องตามฤดูกาลด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้น ก็มีแต่ความเหือดแห้งไปเป็นที่หวังได้ ไม่ต้องหวังความเต็มเปี่ยมเลย พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ การเป็นนักเลงหญิง การเป็นนักเลงสุรา การเป็นนักเลงการพนัน การมีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว.
พราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีทางเจริญอยู่ ๔ ประการ คือ การไม่เป็นนักเลงหญิง การไม่เป็นนักเลงสุรา การไม่เป็นนักเลงการพนัน การมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พราหมณ์ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางน้ำไหลเข้า ๔ ทาง มีทางน้ำไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางน้ำไหลเข้า และปิดทางน้ำไหลออกของสระน้ำนั้น อีกทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาลด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ สระน้ำใหญ่นั้น ก็มีแต่ความเต็มเปี่ยมเป็นที่หวังได้ ไม่ต้องหวังความเหือดแห้งเลย พราหมณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีทางเจริญอยู่ ๔ ประการ คือ การไม่เป็นนักเลงหญิง การไม่เป็นนักเลงสุรา การไม่เป็นนักเลงการพนัน การมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี.
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร.
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
๒) สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๓) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
๔) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
พราหมณ์ ก็ศรัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ พราหมณ์ นี้เรียกว่าศรัทธาสัมปทา.
พราหมณ์ ก็สีลสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต เป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พราหมณ์ นี้เรียกว่า ศีลสัมปทา.
พราหมณ์ ก็จาคสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นควรแก่การขอ ยินดีในการให้และการแบ่งปัน พราหมณ์ นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
พราหมณ์ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร พราหมณ์ กุลบุตรในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ถึงความเกิดขึ้นและความดับไป อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ พราหมณ์ นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.
พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร.
คนที่ขยันในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม
เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ตามรักษาทรัพย์ที่หามาได้ เป็นผู้มีศรัทธา
ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่
ชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภายหน้าเป็นนิตย์
ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมานี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง
คือ เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และเพื่อสุขในภายหน้า
จาคะ (และ) บุญนี้ ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ ด้วยประการดังนี้.
-บาลี อฏก. อํ. 23/289/144, 145.
https://84000.org/tipitaka/pali/?23//289
https://etipitaka.com/read/pali/23/289/