Benefits of perceiving the repulsive. (The importance of the repulsive.)
English translation by Bhikkhu Sujato
At one time the Buddha was staying near Sāketa, in Tikaṇḍakī Wood. There the Buddha addressed the mendicants, “Mendicants!” “Venerable sir,” they replied. The Buddha said this: “Mendicants, a mendicant would do well to meditate from time to time perceiving the following: the repulsive in the unrepulsive, For what reason should a mendicant meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive? ‘May greed not arise in me for things that arouse greed.’ A mendicant should meditate perceiving the repulsive in the unrepulsive for this reason. For what reason should a mendicant meditate perceiving the unrepulsive in the repulsive? ‘May hate not arise in me for things that provoke hate.’ … For what reason should a mendicant meditate perceiving the repulsive in both the unrepulsive and the repulsive? ‘May greed not arise in me for things that arouse greed. May hate not arise in me for things that provoke hate.’ … For what reason should a mendicant meditate perceiving the unrepulsive in both the repulsive and the unrepulsive? ‘May hate not arise in me for things that provoke hate. May greed not arise in me for things that arouse greed.’ … For what reason should a mendicant meditate staying equanimous, mindful and aware, rejecting both the repulsive and the unrepulsive? ‘May no greed for things that arouse greed, hate for things that provoke hate, or delusion for things that promote delusion arise in me in any way at all.’ For this reason a mendicant should meditate staying equanimous, mindful and aware, rejecting both the repulsive and the unrepulsive.”
English translation by Suddhāso Bhikkhu
On one occasion the Blessed One was living at Sāketa, in Tikaṇḍakī1 Grove. There the Blessed One addressed the monks: “Monks!” “Auspicious sir,” those monks replied to the Blessed One. The Blessed One said this: “Monks, from time to time it is good for a monk to dwell perceiving the non-repulsive as repulsive. Monks, from time to time it is good for a monk to dwell perceiving the repulsive as non-repulsive. Monks, from time to time it is good for a monk to dwell perceiving both non-repulsive and repulsive as repulsive. Monks, from time to time it is good for a monk to dwell perceiving both repulsive and non-repulsive as non-repulsive. Monks, from time to time it is good for a monk to circumvent both repulsive and non-repulsive and dwell equanimous, mindful, and clearly aware. “Monks, for what benefit would a monk dwell perceiving the non-repulsive as repulsive? Thinking ‘May lust2 not arise in me about lust-inducing things.’ Monks, this is the benefit for which a monk would dwell perceiving the non-repulsive as repulsive. “Monks, for what benefit would a monk dwell perceiving the repulsive as non-repulsive? Thinking ‘May hate not arise in me about hate-inducing things.’ Monks, this is the benefit for which a monk would dwell perceiving the repulsive as non-repulsive. “Monks, for what benefit would a monk dwell perceiving both non-repulsive and repulsive as repulsive? Thinking ‘May lust not arise in me about lust-inducing things.’ Monks, this is the benefit for which a monk would dwell perceiving both non-repulsive and repulsive as repulsive. “Monks, for what benefit would a monk dwell perceiving both repulsive and non-repulsive as non-repulsive? Thinking ‘May hate not arise in me about hate-inducing things.’ Monks, this is the benefit for which a monk would dwell perceiving both repulsive and non-repulsive as non-repulsive. “Monks, for what benefit would a monk circumvent both repulsive and non-repulsive and dwell equanimous, mindful, and clearly aware? Thinking ‘Being mindful and clearly aware, may no lust at all ever arise in me about lust-inducing things, may no hate at all ever arise in me about hate-inducing things, may no delusion at all ever arise in me about delusion-inducing things.’ Monks, this is the benefit for which a monk would circumvent both repulsive and non-repulsive and dwell equanimous, mindful, and clearly aware.” สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร. ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร. ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร. ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ตามกาลอันควร. ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นการดีที่ภิกษุพึงเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ตามกาลอันควร. ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ราคะ (ความกำหนัด) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ โทสะ (ความขัดเคือง) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่ ราคะ (ความกำหนัด) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา และโทสะ (ความขัดเคือง) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ โทสะ (ความขัดเคือง) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา และราคะ (ความกำหนัด) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะทั้งหลาย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา (มีความวางเฉย) มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ราคะในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา โทสะในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา และโมหะ (ความหลง) ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะในอารมณ์ไหนๆ ในส่วนไหนๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล ภิกษุจึงควรเป็นผู้เว้นจากสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งที่ไม่ปฏิกูล และสิ่งที่ปฏิกูล แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่.
-บาลี ปญฺจก. อํ. 22/189/144.