Dhamma that is for the benefit in the present life and lives to come.
English translation by Bhikkhu Sujato
Then a certain brahmin went up to the Buddha, and exchanged greetings with him. When the greetings and polite conversation were over, he sat down to one side and said to the Buddha:
“Master Gotama, is there one thing that, when developed and cultivated, secures benefits for both the present life and lives to come?”
“There is, brahmin.”
“So what is it?”
“Diligence, brahmin, is one thing that, when developed and cultivated, secures benefits for both the present life and lives to come.
The footprints of all creatures that walk can fit inside an elephant’s footprint. So an elephant’s footprint is said to be the biggest of them all. In the same way, diligence is one thing that, when developed and cultivated, secures benefits for both the present life and lives to come.
The rafters of a bungalow all lean to the peak, slope to the peak, and meet at the peak, so the peak is said to be the topmost of them all. In the same way, diligence is one thing …
A reed-cutter, having cut the reeds, grabs them at the top and shakes them down, shakes them about, and shakes them off. In the same way, diligence is one thing …
When the stalk of a bunch of mangoes is cut, all the mangoes attached to the stalk will follow along. In the same way, diligence is one thing …
All lesser rulers are vassals of a wheel-turning monarch, so the wheel-turning monarch is said to be the foremost of them all. In the same way, diligence is one thing …
The radiance of all the stars is not worth a sixteenth part of the moon’s radiance, so the moon’s radiance is said to be the best of them all. In the same way, diligence is one thing that, when developed and cultivated, secures benefits for both the present life and lives to come.
This is the one thing that, when developed and cultivated, secures benefits for both the present life and lives to come.”
“Excellent, Master Gotama! Excellent! … From this day forth, may Master Gotama remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ มีอยู่หรือไม่หนอ.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะมีอยู่.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ เป็นอย่างไร.
พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนรอยเท้าชนิดใดชนิดหนึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด กลอนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดของเรือน ยอดของเรือนชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศ (ที่รวม) แห่งกลอนเหล่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เกี่ยวหญ้า เมื่อเกี่ยวหญ้าแล้ว ก็จับที่ยอด ถือคว่ำลง สลัด ฟาดไป ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใดที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนพระราชาผู้ครองประเทศเล็กๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ เปรียบเหมือนแสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างของพระจันทร์ แสงสว่างของพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าแสงสว่างแห่งดาวเหล่านั้น ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาท.
พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายะ นั่นคือ ความไม่ประมาทนี้แล.
พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้ ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
-บาลี ฉกฺก. อํ. 22/407/324.
https://84000.org/tipitaka/pali/?22//407
https://etipitaka.com/read/pali/22/407