Four ways of practice. (4)
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are four ways of practice. What four? Impatient practice, patient practice, taming practice, and calming practice.
And what’s the impatient practice? It’s when someone abuses, annoys, or argues with you, and you abuse, annoy, or argue right back at them. This is called the impatient practice.
And what’s the patient practice? It’s when someone abuses, annoys, or argues with you, and you don’t abuse, annoy, or argue back at them. This is called the patient practice.
And what’s the taming practice? When a mendicant sees a sight with their eyes, they don’t get caught up in the features and details. If the faculty of sight were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, they practice restraint, protecting the faculty of sight, and achieving restraint over it. When they hear a sound with their ears … When they smell an odor with their nose … When they taste a flavor with their tongue … When they feel a touch with their body … When they know a thought with their mind, they don’t get caught up in the features and details. If the faculty of mind were left unrestrained, bad unskillful qualities of desire and aversion would become overwhelming. For this reason, they practice restraint, protecting the faculty of mind, and achieving restraint over it. This is called the taming practice.
And what’s the calming practice? It’s when a mendicant doesn’t tolerate a sensual, malicious, or cruel thought. They don’t tolerate any bad, unskillful qualities that have arisen, but give them up, get rid of them, calm them, eliminate them, and obliterate them. This is called the calming practice.
These are the four ways of practice.”
English translation by Ṭhānissaro Bhikkhu
“Monks, there are these four modes of practice. Which four? Intolerant practice, tolerant practice, self-controlled practice, and even practice.1
“And which is intolerant practice? There is the case where a certain individual, when insulted, returns the insult; when abused, returns the abuse; when bickered with, bickers in return. This is called intolerant practice.
“And which is tolerant practice? There is the case where a certain individual, when insulted, doesn’t return the insult; when abused, doesn’t return the abuse; when bickered with, doesn’t bicker in return. This is called tolerant practice.
“And which is self-controlled practice? There is the case where a monk, on seeing a form with the eye, doesn’t grasp at any theme or variations by which—if he were to dwell without restraint over the faculty of the eye—evil, unskillful qualities such as greed or distress might assail him. He practices with restraint. He guards the faculty of the eye. He achieves restraint with regard to the faculty of the eye.
“On hearing a sound with the ear.…
“On smelling an aroma with the nose.…
“On tasting a flavor with the tongue.…
“On touching a tactile sensation with the body.…
“On cognizing an idea with the intellect, he doesn’t grasp at any theme or variations by which—if he were to dwell without restraint over the faculty of the intellect—evil, unskillful qualities such as greed or distress might assail him. He practices with restraint. He guards the faculty of the intellect. He achieves restraint with regard to the faculty of the intellect.
“This is called self-controlled practice.
“And which is even practice? There is the case where a monk doesn’t acquiesce to an arisen thought of sensuality. He abandons it, destroys it, dispels it, wipes it out of existence.
“He doesn’t acquiesce to an arisen thought of ill will. He abandons it, destroys it, dispels it, wipes it out of existence.
“He doesn’t acquiesce to an arisen thought of harmfulness. He abandons it, destroys it, dispels it, wipes it out of existence.
“He doesn’t acquiesce to any arisen evil, unskillful qualities. He abandons them, destroys them, dispels them, wipes them out of existence.
“This is called even practice.
“These, monks, are four modes of practice.”
Note
1. These four terms rhyme in the Pali: akkhama, khama, dama, and sama.
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) อักขมาปฏิปทา (การปฏิบัติไม่อดทน)
๒) ขมาปฏิปทา (การปฏิบัติอดทน)
๓) ทมาปฏิปทา (การปฏิบัติข่มใจ)
๔) สมาปฏิปทา (การปฏิบัติระงับ)
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาโกรธ ย่อมโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมทุ่มเถียงตอบ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในกรณีนี้ เขาด่า ย่อมไม่ด่าตอบ เขาโกรธ ย่อมไม่โกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อมไม่ทุ่มเถียงตอบ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติอดทน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (รวบถือทั้งหมด) ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ (แยกถือเป็นส่วนๆ) เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือตา ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ภิกษุในกรณีนี้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือหู ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือหู ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือหู ภิกษุในกรณีนี้ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจมูก ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือจมูก ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือจมูก ภิกษุในกรณีนี้ รู้รสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือลิ้น ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือลิ้น ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือลิ้น ภิกษุในกรณีนี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือกาย ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือกาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือกาย ภิกษุในกรณีนี้ รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ เธอรักษาอินทรีย์คือใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือใจ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้ไม่มีเหลือซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.
-บาลี จตุกฺก. อํ. 21/204/164.
https://84000.org/tipitaka/pali/?21//204
https://etipitaka.com/read/pali/21/204