The sources that give rise to bad deeds and good deeds.
English translation by Bhikkhu Sujato
“Mendicants, there are these three sources that give rise to deeds. What three?
Desire comes up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present. And how does desire come up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present? In your heart you think about and consider things that stimulate desire and greed in the past, future, or present. When you do this, desire comes up, and you get attached to those things. This lust in the heart is what I call a fetter. That’s how desire comes up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present.
These are three sources that give rise to deeds.
There are these three sources that give rise to deeds. What three? Desire doesn’t come up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present. And how does desire not come up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present? You understand the future result of things that stimulate desire and greed in the past, future, or present. When you know this, you grow disillusioned, your heart becomes dispassionate, and you see it with penetrating wisdom. That’s how desire doesn’t come up for things that stimulate desire and greed in the past, future, or present.
These are three sources that give rise to deeds.”
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ฉันทะ1 ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะ2 ในอดีต
๒) ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓) ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจ ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต เมื่อตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ ผู้ที่เกิดฉันทะแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความติดใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์3 ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจ ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต เมื่อตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ ผู้ที่เกิดฉันทะแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความติดใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจ ถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เมื่อตรึกตรอง ตามตรองด้วยใจอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ ผู้ที่เกิดฉันทะแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความติดใจนั้นว่าเป็นสังโยชน์ ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการอะไรบ้าง คือ
๑) ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต
๒) ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต
๓) ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผลอันจะเกิดต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว ก็คลายใจออก และแทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคตเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผลอันจะเกิดต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว ก็คลายใจออก และแทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต เป็นอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบันเป็นอย่างไร คือ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ชัดซึ่งผลอันจะเกิดต่อไปของธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว ก็คลายใจออก และแทงตลอดด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย ฉันทะย่อมไม่เกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน อย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ.
-บาลี ติก. อํ. 20/339/552.
https://84000.org/tipitaka/pali/?20//339,
https://etipitaka.com/read/pali/20/339
1 ฉันทะ = ความพอใจ, ความรักใคร่
2 ฉันทราคะ = ความพอใจอย่างยิ่ง,ความชอบใจจนติด, ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
3 สังโยชน์ = เครื่องผูก, พันธนาการ